ร่มบ่อสร้าง เป็นสินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดเชียงใหม่มาช้านานหลายชั่วอายุคนแล้ว นักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านเชียงใหม่ส่วนใหญ่จะต้องมาแวะเวียนไปที่อำเภอสันกำแพง เพื่อชมการทำ ร่ม และเลือกซื้อสินค้าติดไม้ติดมือกลับไปเป็นที่ระลึก โดยชาวบ้านทั้งตำบลและรวมไปถึงอีกหลายหมู่บ้านจากตำบลใกล้เคียงในพื่นที่อำเภอสันกำแพง และอำเภอดอยสะเก็ตในจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ล้วนแต่เป็นแหล่งผลิตร่มบ่อสร้างด้วยกันทั้งสิ้น หากพูดถึงร่มบ่อสร้างนั้นคงนึกถึงความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่แน่นอน

ประวัติความเป็นมาร่มบ่อสร้าง

ร่มบ่อสร้างมีประวัติความเป็นมาตามตำนานเล่าขานกันว่าเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ได้มีพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งชื่อของท่านคือพระอินถา แห่งสำนักวัดบ่อสร้างได้เดินทางธุดงค์ไปใกล้เขตชายแดนพม่า มีผู้มาทำบุญกับท่านมากมายทั้งคนไทยและก็ชาวพม่า

ในเช้าวันต่อมามีชาวพม่าคนหนึงได้นำกลดมาถวายให้ท่าน เพราะเห็นว่าท่านไม่มีกลด โดยเป็นกลดที่ชายพม่าคนนั้นทำขึ้นด้วยฝีมือตัวเอง ด้วยความที่พระอินถา ฝักใฝ่ในความรู้ ชอบศึกษาขนบประเพณีต่างๆ และวิถีการดำรงชีวิตของแต่ละพื้นที่ ท่านจึงถามที่อยู่ของชายพม่าคนนั้น ซึ่งอยู่ไม่ไกลออกไปจากที่ท่านพักอาศัยเท่าไหร่เดินทาง 2-3 วันก็คงจะถึง เมื่อชาวพม่ากลับไปแล้ว ท่านก็หยิบกลดขึ้นมาพิจารณาดูว่า เขามีวิธีทำกันอย่างไรถึงออกมาเป็นกลดทที่สามารถป้องกันทั้งแดดและฟ้าฝนได้ ด้วยความสังสัยท่านจึงเดินทางเข้าประเทศพม่าทันที เพราะท่านตั้งใจจะไปศึกษาวิธีทำกลดนี้ให้จงได้

พอท่านข้ามชายแดนไปพม่าแล้วนั้นก็รีบเร่งเดินไปให้ถึงบ้านชายพม่าที่ทำกลดทันที ใช้เวลาไม่กี่วันก็ถึง เมื่อถึงแล้วท่านได้เห็นชาวบ้านทำร่มใช้กางบังแดดและกันฝนอยู่ ซ้ำยังได้เห็นร่มขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเป็นร่มพิธีสำหรับใช้งานในเทศกาลหรือพิธีทางศาสนาต่างๆ แต่ร่มเหล่านี้ทำด้วยกระดาษสาทั้งสิ้น ติดด้วยยางและทาด้วยน้ำมันเพื่อกันแดดและฝน ด้วยความสงสัยท่านจึงได้ถามชาวบ้านดูว่า การทำร่มนี้ต้องทำอย่างไรบ้างและใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ชาวบ้านก็อธิบายให้ท่านตั้งแต่ต้นจนถึงวิธีการทำกระดาษสา ท่านจึงได้บันทึกไว้เป็นขั้นเป็นตอนจนเสร็จและคิดที่จะนำกลับมาลองทำที่บ้านเพราะอุปกรณ์ต่างๆ ทางบ้านเราก็มีพร้อมเหมื่อนกัน หลังจากท่านดูวิธีทำและสอบถามชาวบ้านพม่าถึงวิธีทำเสร็จ ท่านก็ได้เดินทางกลับวัด

พอถึงวัดพระอินถาท่านก็ไม่ได้รอช้าหาอุปกรณ์ต่างๆที่ได้เห็นและบันทึกมา และชักชวนชาวบ้านช่วยกันหาและสอนวิธีทำทุกอย่าง จนเกิดเป็นโรงเรียนฝึกสอนวิชาทำร่มให้กับชาวบ้าน และกลายเป็นอาชีพของคนบ่อสร้างมาจนถึงปัจจุบัน

วิธีทำร่มบ่อสร้าง, วิธีทำร่มบ่อสร้าง รวมไปถึงความเป็นมาที่ชวนหลงใหล
ภาพจาก Pinterest

*ร่มบ่อสร้าง เป็นสินค้าพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ สาเหตุที่เรียกว่าร่มบ่อสร้างเพราะร่มนี้ผลิตกันที่บ้านบ่อสร้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่นั่นเอง

ข้อดีของร่มบ่อสร้าง

ประโยชน์ของร่มบ่อสร้างนั้นหลากหลายอยู่ที่เจ้าของจะนำไปประยุกต์ใช้เลยก็ว่าได้

  1. นำไปเป็นของชำร่วย หรือแจกจ่ายตามงานต่างๆ เพราะงั้นไม่ว่าจะแจกจ่ายในวันสำคัญอย่างเช่นวันแต่งงาน
  2. นำไปตกแต่ง ไม่ว่าท่านจะนำไปตกแต่งภายในบ้าน หรือตามองกรค์ต่างๆ อาจจะเอาไปตั้งเพื่อปรับเปลี่ยนฮ่วงจุ้ยก็ได้อีกด้วย
  3. นำไปเป็นของขวัญหรือของฝากได้ ด้วยความสวยงามของตัวร่มสามารถนำไปฝากผู้หลักใหญ่ได้ เนื่องจากมีประวัติความเป็นมาและให้คุณค่าทางจิตใจ

ส่วนประกอบของร่มบ่อสร้าง ร่มประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้

หัวร่ม : ได้แก่ไม้โมก การทำหัวและตุ้มนี้ใช้วิธีกลึงโดย เครื่องมือโบราณซึ่งเป็นที่บรรพ บุรุษได้เคยใช้ทำมาก่อน โดยตัดไม้ที่จะกลึงออก
เป็นท่อนๆ เส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ5 – 8นิ้วเจาะรูไว้ให้สามารถ สวมเหล็กยึดไม้กลึงไว้ได้พอดีแล้วเริ่มกลึงด้วยเครื่องกลึง ไม้แต่ละท่อนที่กลึงนี้จะสามารถกลึงหัวหรือตุ้มได้ประมาณ 4- 5 อัน โดยกลึงให้ได้ขนาดที่ ต้องการก่อน จึงค่อยตัดแยกออกจากกันอีกทีหนึ่ง

ซี่กลอนและค้ำ : ทำมาจากไม้ไผ่บง (ไผ่ตง )เพราะเหนียวทนทานและสวยงามกว่าไม้ไผ่ชนิดอื่นๆ ในตอนแรกต้องตัดไม้ไผ่ออกเป็นท่อนๆ ตาม
ความต้องการที่จะใช้ทำร่มแล้ว ผ่าออกเป็นซี่กลอนและค้ำตามที่ต้องการ ไม้ไผ่ที่ผ่าออกนี้ ต้องจักออกเป็นซี่เล็กๆอีก โดยกะให้ได้ซี่กลอประมาณ 8 – 9 ชิ้นเหลาให้ตรงปลายเรียว ส่วนโคนนั้นผ่ากลางแต่ไม่ตลอดตลอดแนว เพื่อสอดใส่ค้ำในภายหลังเจาะรู 2 รู สำหรับ ร้อยด้ายเข้ากับโคนของค้ำ การทำค้ำทำโดยเหลาไม้ตามขนาดที่ต้องการให้เป็นชิ้นเรียวๆเหลาทั้งโคนและ ปลายให้แบนสำหรับสอดใส่หัวและซี่กลอนต่อไปใช้สว่านเจาะเป็นรู 2 รู ในส่วนที่จะใส่ด้ายจากส่วนตุ้ม และ ด้ายตรงกลางส่วนปลาย ใช้เหล็กแหลมลนไฟเจาะรู เพราะถ้าใช้สว่านเจาะแล้ว จะทำให้ไม้ไผ่แตกง่าย การร้อยด้ายเพื่อประกอบโครงร่มนั้น ร้อยตามรูของซี่กลอนและค้ำทุกชิ้น เอาด้ายพันเข้าไปในรูที่ทำไว้ตอนกลึงหัวร่ม และตุ้ม สอดซี่ใส่เข้าใน ทุกๆ ช่อง ช่องละซี่จนครบ ส่วนค้ำที่สอดใส่ในช่องตุ้มในลักษณะเดียวกัน มัดด้ายให้แน่น

คันถือ : สำหรับร่มคันเล็ก ทำจากไม้เนื้ออ่อน เหลาด้วยมีดให้สวยงาม ส่วนร่มใหญ่ใช้ไม้ไผ่ทำ

ม้า : เป็นสลักที่กางร่มออกแล้วไม่ให้หุบคืน สำหรับร่มคันเล็กทำด้วยลวดสปริงร่มคันใหญ่ทำด้วยไม้ไผ่เหลา โดยเจาะช่องที่คันถือที่เป็นไม้ไผ่แล้วใส่ม้าเข้าไปในช่อง ใช้ตะปูตอกให้ติดกัน เมื่อใช้มือบีดจะรัดตัวเข้าหากัน พอปล่อยมือจะดีดตัวออกจากกัน

ปลอกลาน : เป็นศูนย์รวมระหว่างหัวร่มคันถือและซี่ร่มทำหน้าที่เป็นตัวเคลื่อนขึ้น- ลงเวลากางหรือหุบทำจากใบลาน ตัดเป็นชิ้นให้กว้างและ
ยาวตาม ขนาดที่พอเหมาะกับตัวร่ม แล้วพันรอบหัวร่มให้เชื่อมระหว่างซี่กลอน กับหัวร่ม พันรอบอีกทีด้วยกระดาษสา ทากาว
หลายๆชั้น

*หลักการเก็บรักษาร่มบ่อสร้างคือ ไม่ให้ร่มโดนความชื้น กรณีที่ร่มอยู่ในกล่องให้เปิดฝากล่อง เพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้นเกิดขึ้น และอาจจะนำลูกเหม็นมาใส่ไว้เพื่อปัองกันแมลงต่างๆ กรณีที่ร่มโดนน้ำ หรือ ฝน ให้ทำให้ร่มแห้งให้เร็วที่สุด จะเป็นการยืดอายุการใช้งานของร่มได้

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

ศูนย์หัตถกรรมร่มบ่อสร้าง 

อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

 

โรงงานผลิตร่ม ขายส่งร่มราคาถูกจากโรงงาน

หาสนใจซื้อร่มจากร้านขายร่มราคาถูกจากโรงงานสามารถติดต่อได้ตามที่อยู่ด้านล่างค่ะ ร้านขายร่มสำเพ็ง ขายส่งร่มจำนวนมาก ราคาถูก

ติดต่อโรงงานผลิตร่ม เซียนร่ม

เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ (8.00-17.00) หยุดวันอาทิตย์

ฝ่ายขาย : 098-3287854 , 061-6762488

Tel & Fax. : 02-9218852 , 034-106215
Website : zeanrom.com | Facebook : Zeanrom | Line : @ZeanRom