ทุกวันนี้ในประเทศไทยมีประเพณีมากมายต่างๆที่สำคัญ และสืบทอดกันมาเนิ่นนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในแต่ละประเพณีก็มีพิธีในการจัดงานแตกต่างกันออกไป แต่งานส่วนใหญ่กลับมีสิ่งหนึงที่ทำเหมื่อนกันนั่นคือการแจกของชำร่วยเพราะฉะนั้นการเลือกหา ร้านขายของชำร่วย ก็เป็นอีกสิ่งที่จำเป็นต่อการเลือกซื้อ
ของชำร่วย ไม่จำเป็นต้องแจกจ่ายเฉพาะในงานรื่นรางเท่านั้น เพราะนอกจากงานรื่นเริงแล้วในงานที่เศร้าหมอง ของชำร่วยก็เป็นสิ่งจำเป็นที่แจกจ่ายให้แก่ผู้มาร่วมงานด้วยเช่นกัน โดยของชำร่วยแต่ละชิ้นก็มีความหมายที่แตกต่างกัน ตามสาระและโอกาสนั้นๆ
ซึ่งท่านสามารถศึกเรื่องความหมายของชำร่วย ได้ที่นี่ https://zeanrom.com/what-are-the-popular-gifts/
หัวข้อย่อยมีอะไรบ้าง ?
สถานที่เลือกซื้อของชำร่วย
ภายในกรุงเทพ มีสถานที่เลือกซืื้อของชำร่วยต่างๆในราคาถูกเยอะแยะ แถมนอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการแข่งขันในโลกออนไลน์มากมาย ของชำร่วยก็เป็นอีกสิ่งที่มีร้านค้าออนไลน์และออฟไลน์เกิดขึ้นมากมาย แต่หากเป็นสินค้าออนไลน์หลายๆท่านคงสามารถค้นหาได้ด้วยตัวท่านเอง
วันนี้เราจึงจะมาพูดและแนะนำสถานที่เลือกซื้อของชำร่วยที่มีหน้าร้านเป็นของตัวเอง ที่ท่านอาจจะไม่เคยมีโอกาสได้ไปหรือต้องการสัมผัสสินค้าจริงๆก่อนเลือกซื้อของชำร่วย เพราะนี่คือจุดเด่นที่โลกออนไลน์ไม่สามารถเลียนแบบได้ หลายๆท่านจึงชอบการเลือกซื้อจากร้านค้า ที่มีหน้าร้านมากกว่าซื้อของออนไลน์ที่ทำได้เพียงแค่ดูรูปภาพ
ตลาดนัดจตุจักร
ถือว่าเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงแก่หมู่วัยรุ่นคนกรุงเทพและนักท่องเที่ยวต่างๆ ที่มาเดินเลือกซื้อนสินค้าต่างๆ โดยในตลาดนัดจตุจักรมีแผงสินค้าให้เลือกมากมาย กว่า 8,000 แผง แบ่งออกเป็น 27 โครงการ และยังแบ่งออกอีกเป็นสินค้า 8 ประเภท ได้แก่ ผักและผลไม้ เสื้อผ้า สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ อาหารสด อาหารสำเร็จรูป และรวมไปถึง ร้านขายของชำร่วย เบ็ดเตล็ดต่างๆอีกมากมาย
ด้วยขนาดของสถานที่กว้างขวาง และยังเป็นแหล่งรวมตัวของวัยรุ่น จึงไม่น่าแปลกที่เป็นสถานที่มี สินค้าของชำร่วย ขายอยู่มากมาย
ประวัติ
ในปี พ.ศ. 2491 จอมพลล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมาตรี มีนโยบายให้จัดตั้งตลาดนัดขึ้นในทุกๆจังหวัด โดยในกรุงเทพนั้น ได้ถูกเลือกสนามหลวงเป็นสถานที่จัดตลาดนัก ต่อมาภายในไม่กี่เดือนก็ได้ทำการย้ายตลาดนัด ไปอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์แล้วจึงย้ายออกไปตั้งอยู่บริเวณสนามไชย แล้วยังย้ายตลาดนัดกลับไปอยู้ที่สนามหลวงอีกครั้งในปี พ.ศ. 2501
หลังจากนั้น พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อดีตนายกรัฐมาตรี ได้มีนโยบายใช้สนามหลวงเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้มอบที่ดินย่านพหลโยธิน โดยการดำเนินการโดยนายเชาวน์วัศ สุดลาภา อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงจัดที่ดินสวนจตุจักรด้านทิศใต้ให้แก่ กรุงเทพมหานครเพื่อใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ และกรุงเทพมหานครได้ปรับพื้นที่เพื่อให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยและขณะเดียวกันก็พยายามย้ายผู้ค้าจากสนามหลวงมาด้วย จนกระทั่งดำเนินการสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยใช้ชื่อว่าตลาดนัดย่านพหลโยธิน ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ตลาดนัดจตุจักร” ให้สอดคล้องกับสวนสาธารณะจตุจักรในบริเวณใกล้เคียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน
เวลาเปิด / ปิด
วันพุธ – วันพฤหัสสบดี ตลาดนัดต้นไม้ เวลา 05.00 – 18.00 น.
วันศุกร์ ตลาดนัดเซรามิค เวลา 08.00 – 21.00 น.
วันเสาร์ – อาทิตย์ ตลาดนัดทั่วไป เวลา 08.00 – 21.00 น.
เดินทาง
- BTS ให้ลงที่สถานนีหมอชิด ใช้ทางออกที่ 1
- MRT ให้ขึ้นที่สถานีกำแพงเพรช ใช้ทางออกที่ 2 หรือ สถานีสวนจตุจักร ใช้ทางออกที่ 1
- รถเมล์ธรรมดา 3, 8, 26, 27, 28, 29, 34, 38, 39, 44, 52, 59, 63, 77, 90, 96, 104, 108 , 122, 126, 134, 136, 138, 145, 182, 188
- รถเมล์ปรับอากาศ ปอ.3, ปอ.28, ปอ.29, ปอ.34, ปอ.39, ปอ.44, ปอ.59, ปอ.63, ปอ.77, ปอ.104, ปอ.126, ปอ.134, ปอ.138, ปอ.145, ปอ.157, ปอ.177, ปอ.502, ปอ.503, ปอ.509, ปอ.510, ปอ.512, ปอ.517, ปอ.524, ปอ.529
สำเพ็ง
อีกสถานที่ขึ้นชื่อในเรื่องสินค้าราคาถูกและดี เหมาะแก่การซื้อเหมานำไปเป็นสินค้าแจกจ่ายเป็นอย่างมาก เนื่องจากราคาที่ถูกแล้วยังมีสินค้าให้เลือกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย ที่เหมาะแก่การนำไปเป็นของชำร่วยอีกด้วย
ประวัติ
หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงย้ายเมืองมาตั้งยังฝั่งพระนคร ก็โปรดเกล้าให้ชาวจีนโยกย้ายที่อยู่อาศัยจากท่าเตียนไปอยู่ ที่สวน และตั้งคลองวัดสามปลื้มไปจนถึงคลองวัดสำเพ็ง ชาวจีนจึงได้สร้างชุมชนของตัวเองขึ้นมา ทั้งการสร้างย่านการค้าขายต่างๆ จนเติบโตขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยส่วนมากจะอาศัยอยู่ในทางใต้ของพระนคร ได้แก่ ชุมชนตลาดสะพานหัน ตลาดเก่า ตลาดสำเพ็ง ตลาดวัดเกาะ และตลาดน้อย
ในเวลานั้นสำเพ็งเป็นสถานที่เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยรัชกาลที่ 4 จัดได้ว่าเป็นตลาดบกที่ใหญ่ที่สุดของพระนคร สินค้าที่นำเข้ามาขายนอกจากจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคภายในประเทศแล้ว ยังมีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่นำเข้ามาขายมากมาย โดยส่วนใหญ่สินค้านำเข้าไปจะนำมาจากประเทศจีน สำเพ็งนอกจากจะเป็นแหล่งรวมสินค้าขนาดใหญ่ในอดีตแล้ว ยังถือว่าเป็นแหล่งรวอบายมุขมากมาย ไม่ว่าจะเป็น บ่อนการพนัน โสเภณี โรงฝิ่น
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นว่า สำเพ็งนั้นเติบโตมากเกินไปแล้ว และยังเป็นแหล่งไม่เจริญหูเจริญตา ฝรั่งหรือชาวต่างชาติที่มาเห็นต่างตำหนิติเตียน พระองค์จึงมีรับสั่งให้สร้างถนนตรงกลางสำเพ็ง เพื่อทำการขยายชุมชนและย่านการค้าให้ใหญ่โตรโหฐานมากยิ่งขึ้น อีกทั้งโปรดเกล้าให้สร้างตึกแบบฝรั่ง เพื่อให้ประชาชนได้ทำการค้าขาย จวบจนมาถึงปัจจุบัน
เวลาเปิด / ปิด
ตลาดกลางวัน
- เปิดทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์ เวลาเปิด 08.00 – 17.00น.
ตลาดเช้า
- เปิดทุกคืน วันจันทร์ – คืนวันเสาร์ เวลาเปิด 02.00 – 07.00น.
- ปิดทุกคืนวันอาทิตย์
*สินค้าในตลาดช่วงเช้าจะมีราคาที่ถูกกว่า แต่เนื่องจากต้องซื้อราคาส่งโดยเหมาเท่านั้น
เดินทาง
- BTS ลงสถานีสยาม ใช้ทางออก 6 ต่อรถหน้าสยามสแควร์วัน 25, 40, 73, ปอ.204
- MRT ขึ้นสถานีหัวลำโพง ต่อรถทางออก รร. บางกอกเซ็นเตอร์ 4, 25, 40, 73, 85
- รถเมล์ 4, 7, 8, 25, 40, 42, 48, 53, 56, 73, 85, 204, 507, 508, 529, 542,
พาหุรัด
หากได้ยินชื่อ พาหุรัด หลายๆท่านคงคิดถึงกลิ่นอายของประเทศอินเดีย หรือ นึกถึงร้านขายผ้าต่างๆ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสินค้าขึ้นชื่อของที่นี่เลยก็ว่าได้ นอกจากในเรื่องของเนื้อผ้าที่วางขายในราคาย่อมเยาแล้ว ยังมีชุดประจำชาติให้เลือกซื้อหลากหลายทั้งในสัญชาติไทยและต่างประเทศ
ประวัติ
พาหุรัดเป็นชื่อถนน ที่อยู่ตรงแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยเริ่มตั้งแต่ถนนบ้านหม้อ ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนตรีเพชร จนถึงถนนจักรเพชร
โดยถนนพาหุรัดเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้สร้างขึ้นโดยทรงใช้ทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ พระราชธิดาซึ่งประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสิ้นพระชนม์ขณะพระชันษา 10 ปี จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลพระราชทานและพระราชทานนามถนนว่า “ถนนพาหุรัด”
จนปัจจุบันพาหุรัด เป็นย่านการค้าที่มีสินค้าให้เลือกอย่างมากมาย และนอกจานากนี้เป็นแหล่งขายผ้าที่นิยมอย่างมาก แถมยังเป็นสถานที่ที่มีกลิ่นอายความเป็นอินเดีย จนหลายๆท่านขนานนามพาหุรัดว่า ลิตเติ้ล อินเดีย ของเมืองไทย
เวลเปิด / ปิด
วันจันทร์ – วันเสาร์ 09.00 – 16.30น.
*วันอาทิตย์จะมีร้านค้าเปิดเพียงบางร้าน แนะนำให้ไปเลือกซื้อของในวันธรรมดา
ที่มาข้อมูล
โรงงานผลิตร่ม ขายส่งร่มราคาถูกจากโรงงาน
หาสนใจซื้อร่มจากร้านขายร่มราคาถูกจากโรงงานสามารถติดต่อได้ตามที่อยู่ด้านล่างค่ะ
ติดต่อโรงงานผลิตร่ม เซียนร่ม
12/166 ม.6 ซอยกะทุ่มล้ม 18 ถนน พุทธมณฑลสาย 4 ตำบล กระทุ่มล้ม อำเภอ สามพราน นครปฐม 73220
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ (8.00-17.00) หยุดวันอาทิตย์
ฝ่ายขาย : 098-3287854 , 061-6762488
Tel & Fax. : 02-9218852 , 034-106215
Website : zeanrom.com | Facebook : Zeanrom | Line : @ZeanRom